::  แผนที่
::  ประวัติความเป็นมา
สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี พม่าได้ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ได้ตั้งทัพอยู่บริเวณวัดบางแขยง ตำบลบางยี่โทในปัจจุบัน ชาวบ้านที่อยู่บริเวณนั้น ทนการกดขี่ข่มเหงของพม่าไม่ไหว ก็พากันอพยพข้ามฝั่งแม่น้ำน้อย มาทางทิศตะวันออกประมาณ 20 คน และได้ตั้งรกรากอยู่ที่บ้านแค พม่าข้ามฝั่งแม่น้ำน้อยมาปล้นสะดมเอาเสบียงจากชาวบ้านแคอีก และนำดอกแคที่ชาวบ้านปลูกไว้ไปกิน โดยไม่ได้เด็ดเกสรด้านในออกก่อนทำให้มีรสขม พม่าคิดว่าเป็นดอกไม้พิษจึงกลัวไม่กล้ากินดอกแค เมื่อเห็นคนไทยกินดอกแคได้จึงกลัวคนไทย ไม่กล้ามารบกวนอีก ชาวบ้านจึงนิยมปลูกต้นแคกันมาก จนมองไปทางไหนก็เห็นแต่ต้นแค จนเรียกบ้านนี้ว่าบ้านแค และเหตุที่เรียกว่า “แคออก” เพราะว่าที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำน้อย
:: สภาพภูมิประเทศ
พื้นที่ตำบลแคออก เป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำแควน้อย ได้แก่ หมู่ 1,2,3,4 ลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนดินเหนียวมีแร่ธาตุสูง มีต้นไม้ที่ทนน้ำ เช่น ต้นมะดัน ต้นสนุ่น ต้นทองหลาง
:: จำนวนประชากรของตำบล
จำนวนประชากรทั้งสิ้น 879 คน เป็นชาย 437 คน เป็นหญิง 442 คน
::  การปกครอง
ตำบลแคออก แบ่งการปกครองเป็น 4 หมู่บ้าน คือ
   หมู่ที่ 1 ชื่อบ้าน บ้านแค
   หมู่ที่ 2 ชื่อบ้าน บ้านท่าควาย
   หมู่ที่ 3 ชื่อบ้าน บ้านน้ำดำ
   หมู่ที่ 4 ชื่อบ้าน บ้านสวนมะม่วง
::  อาณาเขตตำบล
ทิศเหนือ จรด ตำบลหน้าไม้ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ทิศใต้ จรด ตำบลกระแชง ตำบลบ้านกลึง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ทิศตะวันออก จรด ตำบลบ้านกลึง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ทิศตะวันตก จรด แม่น้ำน้อย
::  สภาพทั่วไปของตำบล
เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำน้อยไหลผ่าน บ้านเรือนตั้งกระจายไปตามริมแม่น้ำน้อย ฤดูน้ำหลาก น้ำจะท่วมบ้านเรือน ระยะเวลานานประมาณ 1 เดือน
::  สภาพดิน
ข้อมูลกลุ่มชุดดิน ตามความเหมาะสมและคุณภาพดิน
     1. ดินชุดอยุธยา เป็นดินเหนียว ดินเป็นสีเทาเก่า ดินล่ามีสีเทาปนน้ำตาลและสีเหลือง เป็นกรดจัดส่วนใหญ่พบบริเวณริมแม่น้ำ ปัจจุบันใช้ประโยชน์ในการปลูกข้าวไม้ผลแต่ต้องมีการยกร่องหรือถมดิน
     2. ดินชุดเสนา เป็นดินเหนียว ดินเป็นสีเทา หรือเทาแก่ ดินล่ามีสีเทา จุดปนน้ำตาลมีสารวาโรไซด์ ดินเป็นกรดจัด มีความสมบูรณ์ต่ำ พบบริเวณห่างจากแม่น้ำ ประมาณ 200 เมตร้  
   
::  การคมนาคม การเดินทางเข้าสู่ตำบล
โดยทางรถยนต์จากที่ว่าการอำเภอบางไทร ถึง หมู่บ้าน (ที่ทำการ อบต.) ระยะทาง 12 กิโลเมตร ถนนลาดยาง สายบ้านโคก – สามเรือน และทางหลวงสายอยุธยา – เสนา แยกเข้าบ้านโคก ระยะทาง 5 กิโลเมตร     
::  แหล่งน้ำ
ล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำน้อย , หนองน้ำ และน้ำฝน คลองวัว คลองทุ่ม คลองรางประแก้ว
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น ได้แก่ คลองชลประทาน ได้รับน้ำเต็มที่ในฤดูฝน สำหรับฤดูแล้งจะขาดแคลนบ้างในบางช่วง
::  ข้อมูลอาชีพของตำบล
อาชีพหลัก รับจ้าง
อาชีพเสริม ทำนา เลี้ยงสัตว
:: รายชื่อคณะกรรมการศูนย์ฯ
สถานที่ตั้ง    ตำบลแคออก อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
1.
นายมิ้ง จุฑาจินดาเขต ประธานกรรมการ
2.
นายวิเชียร บุตรทรัพย์ กรรมการ
3.
นายอนงค์ มีหลาย กรรมการ
4.
นางลันทม เรืองเดช กรรมการ
5.
นายวิเชียร สุขแสงดาว กรรมการ
6.
นายสามารถ สุขสมแดน กรรมการ
7.
นายสนั่น สุขสมแดน กรรมการ
8.
นางวาสนา จิตประสพ กรรมการ
9.
นายเจริญ ดำริสุข กรรมการ
10.
นายวิรัตน์ ทรัพย์พืช กรรมการ
11.
นายสวิง ไตรจินดา กรรมการ
12.
นางบุญเรือน วงศ์สุขชัยกิจ กรรมการ
13.
นายละออ เพิ่มพิพัฒน์ กรรมการ
14.
นายสมพร หัตถกรรม กรรมการ
15.
นางบัญทูล กรหมี กรรมการและเลขานุการ
::  สภาพพื้นที่และระบบสาธารณูปโภค
- ไฟฟ้า มีไฟฟ้าเข้าถึงทั้ง 4 หมู่บ้าน ทุกครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้
- น้ำประปา มีน้ำประปาใช้ทุกครัวเรือน
- โทรศัพท์ มีโทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 1 แห่ง
::  สถานที่สำคัญของตำบล
1) วัดปากน้ำ
2) ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล
3) สถานีอนามัย
4) โรงเรียนวัดปากน้ำ
5) ศูนย์สาธิตการตลาด
6) ฟาร์มสเตร์ ค่ายกาญจนวรรณ
::  ศูนย์บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลแคออก
ผู้รับผิดชอบตำบล คือ นายบัญทูล กรหมี นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ
::  สถาบันเกษตรกร
- กลุ่มเกษตรกรทำนาแคออก สมาชิก 45 ราย
- กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรแคออกสามัคคี สมาชิก 22 ราย
- กลุ่มยุวเกษตรกรแคออก สมาชิก 17 ราย
::  โครงการต่างๆ
- ส่งเสริมการปลูกข้าวพันธุ์ดี หมู่ 1 - 4 จำนวนสมาชิก 16 ราย พื้นที่ 200 ไร่
- ส่งเสริมการผลิตพืชให้ปลอดภัยและได้มาตรฐาน
- ส่งเสริมอาชีพแก้ไขปัญหาความยากจน (สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ผัก)
::  แหล่งท่องเที่ยว
ค่ายกาญจนวรรณ เป็นค่ายเอกชน เป็นสถานที่ฝึกอบรมความรู้และศึกษาดูงานเกี่ยวกับการเลี้ยงเรนเดีย เป็นฟาร์มสเตย์ ค่ายอบรมลูกเสือ สวนไม้ดอก เลี้ยงนกกระจอกเทศ เลี้ยงเนื้อทราย กวาง จระเข้ เนื้อที่ 200 ไร่ ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลแคออก อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น.ส.จารุวรรณ บุญชันศรี เจ้าของ โทร.01-8508248
::  หนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล (otop)
- ผลิตภัณฑ์จักสานจากผักตบชวา
นำต้นผักตบชวามาจักสาน เป็นกระเป๋าถือ กระเป๋าสะพาย และตะกร้าใส่สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ นำผักตบชวาต้นสูงประมาณ 70 –80 เซ็นติเมตร นำมาตากแดดให้แห้ง ประมาณ 7 –10 วัน แล้วนำมาอบในโอ่ง ใส่กำมะถันเผาไฟให้ละลาย เพื่อทำให้ผักตบชวานิ่มและขาว จากนั้นนำผักตบชวาที่แห้งแล้ว มาถักเป็นตัวหนอน เป็นเปีย ขึ้นแบบตามหุ่น เมื่อเสร็จนำมาตากแดดอีก 1 วัน แล้วทาน้ำมันวานิช และแล็กเกอร์
- ขนมหวานต่างๆ ได้แก่ ทองหยอด ฝอยทอง เม็ดขนุน ขนมหม้อแกง
 
::  การรายงานต่างๆ
-
ารรายงานการจัดเก็บข้อมูลรายงานผลผลิตด้านการเกษตร (รอ.)
- การรายงานข้อมูลพื้นฐานทางด้านการเกษตร (ศ.02), แผน - ผล การปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่และศูนย์บริการและถ่ายทอดฯ
- การรายงานข้อมูลพื้นฐานการเกษตร
- การรายงานภัยธรรมชาติ
- การรายงาน ทบก.01, 05
::  เขตการปกครอง
หมู่ที่
ชื่อหมู่บ้าน
พื้นที่ถือครอง
ทั้งหมด (ไร่)
พื้นที่ถือครองการเกษตร
ทั้งหมด (ไร่)
จำนวนครัวเรือน
ทั้งหมด(ครัวเรือน)
จำนวนครัวเรือนเกษตรกร
(ครัวเรือน)
1
บ้านแค
 
2,084 
 
1,318
 
81
18
2
บ้านท่าควาย
31
6
3
บ้านน้ำดำ
98
32
4
บ้านสวนมะม่วง
34 
15 
รวม
 
 2,084
 1,318
 244
 71
::  พื้นที่เพาะปลูกพืช ปี 2548
พื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปี ปี 2547/2548
หมู่ที่
พื้นที่เพาะปลูก
(ไร่)
พื้นที่เก็บเกี่ยว
(ไร่)
ผลผลิตเฉลี่ย
(ก.ก. / ไร่)
ราคา
(บาท / ตัน)
1-4
 1,318
1,318
623
 5,300
รวม
 1,318
1,318
623
 5,300
พื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปรัง ปี 2547/2548
หมู่ที่
พื้นที่เพาะปลูก
(ไร่)
พื้นที่เก็บเกี่ยว
(ไร่)
ผลผลิตเฉลี่ย
(ก.ก. / ไร่)
ราคา
(บาท / ตัน)
1-4
 1,318
1,318
795
 5,300
รวม
 1,318
1,318
795
 5,300
::  สถิติการปลูกพืช (3 - 5 ปี)
สถิติการปลูกข้าวนาปี ปี 2543/2544 - 2547/2548

หมู่ที่ 
2543/2544
2544/2545
2545/2546
 2546/2547 
 2547/2548 
พื้นที่ปลูก
(ไร่)
ผลผลิต
(ตัน)
ราคา
(บาท/ตัน)
พื้นที่ปลูก
(ไร่)
ผลผลิต
(ตัน)
ราคา
(บาท/ตัน)
พื้นที่ปลูก
(ไร่)
ผลผลิต
(ตัน)
ราคา
(บาท/ตัน)
พื้นที่ปลูก
(ไร่)
ผลผลิต
(ตัน)
ราคา
(บาท/ตัน)
พื้นที่ปลูก
(ไร่)
ผลผลิต
(ตัน)
ราคา
(บาท/ตัน)
1-4
 1,318
578
 4,000
1,318 
 804
4,400 
 1,318
 808
 4,800
 1,318
836 
5,200 
1,318
 820
 5,300
รวม
 1,318
578
 4,000
1,318 
 804
4,400 
 1,318
 808
 4,800
 1,318
836 
5,200 
1,318
 820
 5,300
สถิติการปลูกข้าวนาปรัง ปี 2543/2544 - 2547/2548
หมู่ที่ 
2543/2544
2544/2545
2545/2546
 2546/2547 
 2547/2548 
พื้นที่ปลูก
(ไร่)
ผลผลิต
(ตัน)
ราคา
(บาท/ตัน)
พื้นที่ปลูก
(ไร่)
ผลผลิต
(ตัน)
ราคา
(บาท/ตัน)
พื้นที่ปลูก
(ไร่)
ผลผลิต
(ตัน)
ราคา
(บาท/ตัน)
พื้นที่ปลูก
(ไร่)
ผลผลิต
(ตัน)
ราคา
(บาท/ตัน)
พื้นที่ปลูก
(ไร่)
ผลผลิต
(ตัน)
ราคา
(บาท/ตัน)
1-4
 1,318
 1,009
 4,000
 1,318
 1,110
 4,400
 1,318
 1,080
 4,800
 1,318
 1,010
 5,200
 1,318
 1,015
 5,800
รวม
 1,318
 1,009
 4,000
 1,318
 1,110
 4,400
 1,318
 1,080
 4,800
 1,318
 1,010
 5,200
 1,318
 1,015
 5,800